วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Tricks & Tips การใช้ VLOOKUP คำนวณเกรดนักเรียนง่ายๆ กับครูปรีดา ครับ

                    เบื่อไหม...ที่ต้องใช้คำสั่้ง ยาวๆ เพื่อคำนวณเกรดนักเรียน
           
               วันนี้ ครูปรีดา มีวิธีในการคิดคำนวณเกรด แบบง่ายๆ ด้วยการใช้คำสั่ง VLOOKUP  ครับ

มาเริ่มกันเลยครับ




















































                    Blog นี้ บรรยายในภาพในตัวเลย หวังว่าทุกท่านคงเข้าในในทุกขั้นตอนนะครับ จัดไปอย่างละเอียดพอสมควร  ขอบคุณที่เข้ามารับชมทุกท่านครับ สวัสดีครับ




ปรีดา  พงษ์วุฒินันท์
ศึกษานิเทศก์ สพป.อุดรธานี เขต 2






วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Tricks & Tips Flubaroo Google Apps for Education กับครูปรีดา



                    สวัสดีครับ Blog นี้ เรามาลองทำ วิธีเฉลยคำตอบที่ถูกต้องของข้อสอบแบบเลือกตอบ จาก Google Forms ซึ่งในวันนี้ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูปรีดา" ขอเสนอวิธีการทำเฉลย ดังต่อไปนี้ครับ


                    หลังจากที่เราได้ทำ ข้อสอบออนไลน์ จาก Google Forms แล้วนะครับ ให้เข้าไปคลิกที่ไฟล์ข้อสอบดังกล่าว มีวงเล็บต่อท้ายชื่อไฟล์ว่า (การตอบกลับ)


ได้หน้านี้
             

                    เราจะทำการเฉลยและให้ระบบแสดงคะแนนของนักเรียนที่ทำการสอบ สมมติ มี 5 คน
   

ขั้นตอนที่ 1  คลิกที่   ส่วนเสริม  เลือก Flubaroo
ขั้นต้อนที่ 2 คลิกที่ Grade Assignment 


ขั้นตอนที่ 3 ให้ทำการกำหนดค่าคะแนน ถ้าเป็น หัวข้อชื่อ - สกุล อันนี้ ไม่มีคะแนน เพราะเป็นที่กรอกชื่อของนักเรียน โดยเลือกคำว่า "Identifies Student " แต่ถ้าเป็นข้อสอบที่ต้องมีคะแนนให้นักเรียน ให้เลือกคำว่า "Normal Grading" แล้วกำหนด คะแนน ว่า ข้อละกี่คะแนน ในตัวอย่างนี้ กำหนด ข้อละ 2 คะแนน

ขั้นตอนที่ 4  ให้คลิก "Continue"


ขั้นตอนที่ 5 คลิกจุดที่ชุด เฉลย  (ชุดเฉลยนี้ ก็คือ ครูผู้ออกข้อสอบนี้ โดยทำการเฉลยไว้ก่อนแล้ว)
ขั้นตอนที่ 6 คลิก " Continue"


                    Flubaroo  จะทำการตรวจข้อสอบของนักเรียนทั้งหมด ตามที่เราได้กำหนดไว้


                    Flubaroo จะแจ้ง คะแนนเต็มของข้อสอบชุดนี้ บอกค่าเฉลี่ยคะแนนนักเรียน บอก จำนวนข้อ บอกคะแนนต่ำสุด


                    ยัง ยังไม่พอ Flubaroo ยังมีการแสดงผลในรูปแผนภูมิได้อีกด้วย โดยการ คลิกที่ ส่วนเสริม เลือก Flubaroo ตามด้วย View Report 


                   อีกนิดครับ  หรือ จะส่งรายงานผลคะแนนนี้ ไปยัง Email ของนักเรียน ก็ได้ครับ


                    เห็นไหมครับว่า Flubaroo  ใช้งานง่ายนิดเดียว ลองทำดูนะครับ  สวัสดีครับ



   ปรีดา  พงษ์วุฒินันท์
   ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ
     สพป.อุดรธานี เขต 2








วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีแชร์เว็บให้สั้น โดย เว็บ gg.gg โดยครูปรีดา

สวัสดีครับ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ครูปรีดา  วันนี้ นำเอาเทคนิคในการแชร์ URL ให้สั้นลงด้วย gg.gg ครับ                  
                    หากคุณต้องการแชร์เว็บของคุณให้เพื่อนๆ หรือ ใครที่ต้องการเข้าชมเว็บไซด์ โดยที่คุณไม่ต้อง สะกดตัวอักษรที่ยาวยืดอีกต่อไป เช่น blog นี้
                 

URL คือ
http://hs4yos.blogspot.com/2015/02/9.html

                    เรามีวิธีทำให้ URL นี้ สั้นลง ด้วย วิธีดังต่อไปนี้ครับ
                    1. พิมพ์  gg.gg  ลงในช่อง URL  เพื่อเข้าสู่เว็บนี้

                    
                    2. COPY ชื่อ URL ที่ยาวๆ ของคุณ มาวางลงในช่อง "Put you long URL here"


                    3.คลิกเครื่องหมายถูก หน้าคำว่า "Customize link "


                    4.สังเกตว่าจะมีช่องให้เรากำหนดคำที่เราต้องการในช่องสี่เหลี่ยม ให้พิมพ์ข้อความที่เราต้องการ หาก ไปซ้ำกับใคร ระบบจะแจ้งด้วยข้อความสีแดงเอง เราก็เปลี่ยนจนกว่าระบบจะให้ผ่าน เช่นตัวอย่างนี้ เป็นต้น


                    5.เมื่อสามารถกำหนดคำผ่านแล้ว ระบบจะแจ้ง ชื่อ URL ใหม่ที่สั้นอย่างที่เราต้องการและกำหนดในการตั้งค่าเมื่อสักครู่


                    6.จากตัวอย่าง เราก็จะได้ http://gg.gg/udon58  แทน http://hs4yos.blogspot.com/2015/02/9.html  ซึ่งยาวกว่า และน่าจะจำยากกว่า และลองนำไปใช้งานดูก็ได้ผลเช่นเดียวกับ URL ยาวๆ


                    7. ถ้าจะให้ง่ายกว่านั้น ในกรณีที่คุณมี สมาร์ทโฟน เราก็สามารถกำหนดค่าดังกล่าวให้เป็น QR Code ได้ โดยการ คลิก ที่ปุ่ม "QR Code For This Link"  


                    8.เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถนำ ชื่อ URL ใหม่นี้ ไปใช้ได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และ QR Code ก็เหมาะสำหรับ ผู้นิยมสมาร์ทโฟน รองรับ อนาคตได้ดีเลยครับ  


สำหรับ Blog นี้ ก็ข้างบนนี้เลยครับ  ขอบคุณที่รับชม สวัสดีครับ


                                                                                                                         ปรีดา  พงษ์วุฒินันท์
                                                                                                                              ศึกษานิเทศก์
                                                                                                                        สพป.อุดรธานี เขต 2
                                                                                                                         22 กรกฎาคม 2558













                 

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไหว้พระ 9 วัด จังหวัดเชียงใหม่ โดยครูปรีดา

                    เนื่องจาก ผู้เขียน มีอายุครบ 47 ปี จะเข้ารอบ 48 ซึ่งปีนี้ (พ.ศ. 2558) ถือเป็นปีชง (75%) ซึ่งผมมีความเชื่อในเรื่องนี้ตามประสาชาวพุทธ โอกาสอันนึงที่ผมจะได้ดำเนินการ "แก้ชง" เพื่อเป็นสิริมงคลตามประสาคนไทยชาวพุทธก็คือการไหว้พระ9 วัดในหนึ่งวัน และผมก็เลือกที่จะมาที่นี่ครับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่มีวัดวาอารามที่สวยงามสไตล์ล้านนา ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากมาย เพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคลกับชีวิต ในแต่ละวัดที่มีชื่อเสียงในเมืองเชียงใหม่อย่างเช่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง วัดเชียงมั่น และวัดที่มีชื่อเป็นสิริมงคล อย่างเช่น วัดดวงดี วัดหมื่นล้าน วัดดับภัย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละวัดก็จะอยู่ในละแวกเดียวกัน ไม่ไกลกันมาก

                    ผมและครอบครัว(ภรรยาและลูกสาว)เดินทางมาที่นี่ในวันที่  6 กุมภาพันธ์ 2558 มาถึงประมาณ เที่ยงวัน เข้าพักที่โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ ได้ห้องพักเสร็จสรรพ ก็ขึ้นไปกราบนมัสการวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นที่แรก


                    บันไดนาค ทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ในวันเตรียมการรับเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา



                    นมัสการพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร บนดอยสุเทพ เป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร ปีมะแม นักษัตรแพะ ธาตุดิน  ซึ่ง ผู้เขียนและภรรยา เกิดในปีนักษัตร ปีมะแม  
                    หลังจากเสร็จสิ้นการรับเสด็จฯ และหลังจาก 1 คืนผ่านไป  


พอรุ่งเช้าของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เริ่มวัดแรกคือ วัดเชียงมั่น


                     วัดเชียงมั่น ตั้งอยู่ถนนราชภาคิไนยเพื่อให้ชีวิตประสบความสำเร็จและความมั่นคงของชีวิต  วัดเชียงมั่นในอดีตคือวัด คู่พระบารมีของพระนางเจ้าจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย และพญาเมงราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา
ถือได้ว่ามีความสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง วัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่และถือเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1839 พระองค์ทรงยกพระตําหนักที่ประทับชื่อ ตําหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามใหม่ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่นอกจากวัดเชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองแล้ว เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป ในสมัยพญามังราย วัดเชียงมั่น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมาก ซึ่งอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัดเชียงมั่นประกอบไปด้วย วัดเชียงมั่นมีสถาปัตยกรรมสําคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช่างล้อม พระอุโบสถและหอไตร


                  

  

หน้าวิหารหลังใหญ่วัดเชียงมั่น

                    วัดที่สอง  วัดดับภัย  ไหว้ขอพรหลวงพ่อดับภัย ซึ่งมีตำนานเล่าลือถึงถึงการดับเภทภัยให้กับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการป่วยไข้ หรือการดับเคราะห์ดวงชะตา 


                ในวัดมีบ่อน้ำที่เรียกว่าบ่อน้ำดับภัย เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ นำไปสรงน้ำพระพุทธมนต์หรือเพื่อสืบดวงชะตาได้



                    “วัดดับภัย” ฟังแล้วประหลาดหู  แม้ว่าชื่อจะฟังแปลก แต่พินิจพิจารณากันให้ดีๆ แล้วเป็นชื่อที่มีความหมายดี ให้พลังในทางบวกมากๆ เพราะ “ดับภัย” หมายถึง การไม่มีเพศภัยใดๆ มาย่ำกรายชีวิตเราได้นั่นเอง จึงไม่แปลกเลยที่พระอารามแห่งนี้จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในวัดมงคลนาม คือมีชื่อเป็นมงคลของเมืองเชียงใหม่วัดดับภัย ตั้งอยู่บนถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เดิมชื่อว่า “วัดตุงกระด้าง” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๐ ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๙ 
แห่งราชวงศ์มังราย ตามตำนานเล่าว่า มีขุนนางคนหนึ่งชื่อว่า “พระยาอภัย” เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาองค์หนึ่ง ชื่อว่า “พระเจ้าดับภัย” เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำครอบครัว ประดิษฐานเอาไว้ในห้องนอนของตน ไม่ว่าจะไปที่ใดก็จะนำพระเจ้าดับภัยไปด้วยเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง และบริวารเมื่อพระยาอภัยล้มป่วยลง ไม่มีหมอคนไหนรักษาได้ ท่านอธิษฐานขอพรต่อพระเจ้าดับภัยให้ตนหาย ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้าดับภัย อาการป่วยของท่านค่อยๆ ทุเลาลง จนหายขาดในที่สุด พระยาอภัยย้ายมาปลูกเรือนใกล้กับวัดตุงกระด้าง พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้มีสภาพที่ดีขึ้น แล้วอัญเชิญพระเจ้าดับภัยมาประดิษฐานที่วัดตุงกระด้าง พระอารามแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามใหม่ว่า “วัดดับภัย” จนถึงทุกวันนี้


                    วัดที่ สาม


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดเก่าแก่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน


                    หรือ วัดลีเชียงพระ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ที่ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์พระคู่บ้านคู่เมืองเก่าแก่ของชาวล้านนา วัดพระสิงห์วรมหาวิหารสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1888 ในรัชสมัย พญาผายูกษัตริย์ราชวงศ์มังราย โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา พร้อมทั้งนิมนต์พระมหาอภัยจุฬาเถรเจ้า เมืองหริภุญชัย มาเป็นพระสังฆราชเมืองเชียงใหม่ โดยจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้
                    ในสมัย พระเจ้าแสนเมืองมา โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเมืองเชียงแสน (เมืองหลวงเก่าล้านนา) มาประดิษฐาน ณ วัดสวนดอก เมื่อรถบุษบกอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ผ่านมาถึงหน้าวัดลีเชียงพระ เกิดติดขัดไม่สามารถไปต่อได้ จึงทรงรับสั่งให้สร้างกู่มณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ขึ้นภายในวัดลีเชียงพระ




                    นอกจากนี้ บริเวณด้านข้างของวิหาร ยังมีร้านขายของที่ระลึก กางร่มแดงเรียงรายตามถนนด้านข้างตรงข้ามโรงเรียน



                    ขอพร พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่   ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ วิหารทรงพื้นเมืองล้านนา  วัดพระสิงห์มีพระอุโบสถและสถาปัตยกรรมพื้นเมืองล้านนาที่มีลวดลายแกะสลัก สวยงาม


                    วัดที่ สี่  


 วัดชัยพระเกียรติ ทำบุญวัดนี้เพื่อเสริมสร้างเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ให้มีแก่ตัวตนของเรา ต่อจากนั้นให้เพิ่มความสมบูรณ์พูนสุข 


                    วัดชัยพระเกียรติ เดิมมีชื่อว่า วัดชัยผาเกียรติ์ สิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในวัดปัจจุบันเป็นของใหม่ทั้งหมด น่าจะเป็นเพราะโบราณสถานโบราณวัตถุภายในวัดผุพังไป จึงมีการบูรณะปลูกสร้างกันขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม วัดชัยพระเกียรติก็ยังมีหลักฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ สมัยโบราณ ยุคราชวงศ์มังรายตอนกลางเท่าที่หลักฐานการค้นพบ ปรากฏชื่อของวัดชัยผาเกียรติ์ในโคลงนิราศหริภัญไชย จากประวัติของวัดที่ปรากฏ ในหลักศิลาจารึกหน้าพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ ระบุว่าวัดชัยพระเกียรติเป็นพระอารามของนครเชียงใหม่มาแต่โบราณกาลสมัย พระเมกุฏิวิสุทธิวงค์ กษัตริย์เชียงใหม่จะทรงทำนุบำรุงวัดนี้มาจนถึงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับ สุดท้ายของราชวงศ์มังราย
                    ส่วนการสร้างพระประธานในวิหารนั้น พระมหาจิรประภา กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 15 ทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระชัยราชาธิราชกษัตริย์ในวงศ์สุวรรณภูมิ ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พุทธศักราช 2081-2088  น้ำหนักทองที่หล่อ พระพุทธรูปองค์นี้มีอยู่ 5 ตื้อ 1 ตื้อ เท่ากับ 10 โกฏิ น้ำหนักทอง 5 ตื้อ  จึงเท่ากับ 50 โกฏิ จึงเรียกพระนามว่า “พระเจ้าห้าตื้อ” ที่ฐานของ พระพุทธรุปด้านหน้าเป็นอักษรพม่าส่วนด้านหลังเป็นอักษรพื้นเมืองเชียงใหม่  แสดงให้เห็นสมัยนั้นพม่ามีอิทธิพลควบคุมล้านนามาก ในสมัยพระเมกุฏิล้านนาเกิดการระส่ำระส่ายเป็นอย่างมาก ได้รับการกดขี่จากพม่าราษฏรได้รับความเดือดร้อนถูกสั่งเกณฑ์แรงงานเก็บภาษี มากจนทำให้เกิดความเดือดร้อน เมื่อล้านนาตกเป็นของพม่า พม่าเริ่มมีอิทธิพลทางด้านต่างๆ มากมายเช่นประเพณีต่างๆ แต่กษัตริย์พม่านั้นมีความเลื่อมใสทางพุทธศาสนา
                  
  วัดที่ ห้า


วัดดวงดี  อยู่บริเวณสี่แยกกลางเวียง  ใกล้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์  มาไหว้แล้วขอพรให้ดวงดีตลอดปีเหมือนกับชื่อ  วัดครับ วัดดวงดีเป็นวัดที่มีศิลปะหลายๆอย่างให้ดูให้ศึกษาเป็นวัดที่มีศิลปะที่งดงามอีกแห่งหนึ่งของนครเชียงใหม่


                    หรือ วัดพันธนุดวงดี ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางของการทำบุญไหว้พระเก้าวัดเชียงใหม่ ที่มีผู้คนนิยมมาสักการะกันเสมอ อันเนื่องมาจากนามอันเป็นเป็นสิริมงคลของวัด ประวัติวัดดวงดีนั้นไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงจารึกที่ฐานพระพุทธรูปภายในพระวิหาร ที่ระบุถึงปีที่สร้างองค์พระไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2039 ซึ่งตรงกับสมัยพระเมืองแก้ว  วัดดวงดีมีความสำคัญในอดีตคือ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ที่ได้การรับอาราธนาให้ลาสิกขาบท เพื่อขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร ในยุคเมืองเชียงใหม่เกิดความไม่สงบสุข ซึ่งขึ้นครองเมืองในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2304 - 2306


เป็นวัดที่มีความสงบมาก แต่อยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ มีความรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบ


มีญาติโยมที่ออกรถมอเตอร์ไซด์ใหม่ (รถเครื่อง) มาทำบุญ เจิม รถใหม่ด้วย


ทำบุญด้วยการสลักชื่อ-สกุล ลงในใบโพธิ์ทอง

                        วัดที่ หก 



วัดเจดีย์หลวง


วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่งดงามอีกวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกถึงความวิจิตรสวยงามน่าเลื่อมใสทันทีที่เดินเข้าไปในวิหารใหญ่ของวัดเจดีย์หลวง




ทำบุญกับตุงราศีเกิด ด้วยการเขียนชื่อทุกคนในครอบครัวตามราศีเกิด


เสร็จแล้วนำไปแขวนไว้บนราวลวดข้างบนประดับประดาสวยงามแปลกตามาก






ด้านหน้า มหาวิหารวัดเจดีย์หลวง


                         ที่โดดเด่นคงเป็นพระเจดีย์หลวงเจดีย์อิฐโบราณที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่  หน้าประตูวิหารมีบันไดนาคเลื้อยลงมาใช้หางกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตู ถือว่าเป็นนาคที่งามที่สุดของภาคเหนือ  นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญให้กราบไหว้บูชามากมาย ทั้งพระประธานในพระวิหารหลวง พระนอนซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์







                    นอกจากนั้น เดินลึกลงไปนิดนึงจะเห็นต้นยางใหญ่อายุ เจ็ดร้อยกว่าปี พร้อมเมืองเชียงใหม่ ด้านข้างจะเห็นวิหารศิลปะล้านนาเก่าแก่ น่าชม น่าศึกษาประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง



เดินผ่านหน้า กุฏิ ร่มรื่น ตกแต่งด้วยไม้ประดับต่างๆ ดูสงบร่มเย็น


ถัดมาเป็นวิหารพระสีวลี เข้าไปกราบนมัสการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

วัดที่ เจ็ด


                    วัดเจ็ดลิน  หรือ วัดหนองลิน ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงการกล่าวถึงวัดเจ็ดลินใน นิราศหริภุญชัย ที่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2060 ซึ่งตรงกับสมัยพระเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังราย
                 วัดเจ็ดลินมีความสำคัญในอดีตคือ เป็นวัดที่มีการทำพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษกพระมหากษัตริย์ ในสมัยราชวงศ์มังราย ก่อนขึ้นครองราชย์ โดย พระเมกุฏิวิสุทธิ์วงศ์ กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2094 ได้ทรงชุดขาว ณ วัดผ้าขาว จากนั้นเสด็จไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และเสด็จมาประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษกจากสุวรรณสังข์ ณ วัดเจ็ดลิน โดยมีรางน้ำทองคำ ที่เรียกว่า "ลิน" ซึ่งมีด้วยกัน เจ็ดราง อันเป็นที่มาของนามวัด โดยหลังเสร็จพิธีจึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไปภายหลังบ้านเมืองเกิดศึกสงครามวัดเจ็ดลินได้ถูกทิ้งร้างไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 พระญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และคณะสงฆ์ ร่วมกับชาวบ้านได้ทำการบูรณะให้มีสภาพดังปัจจุบัน

วัดที่ แปด


                    วัดหมื่นล้าน มีชื่อเดิมว่า “วัดหมื่นสามล้าน” ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2002 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช โดย “หมื่นโลกสามล้านขุนพลแก้ว” ขุนพลคู่ใจของพระองค์ คนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “หมื่นด้ง” หรือ “หมื่นด้งนคร” เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับแม่ทัพนายกอง และทหารของล้านนาที่เสียสละชีพในสงคราม  ใครที่มาไหว้พระที่วัดหมื่นล้าน ก็ขอพรให้ตนเองประสบผลสำเร็จทั่งหน้าที่การงาน ได้โชคลาภ มีเงินทองเป็นหมื่นล้าน

ผมเลี้ยวรถเข้ามาในวัดในขณะที่วัดกำลังทำการบูรณะ ซ่อมแซมวัด ถึงแม้จะไม่ได้เข้าไปไหว้พระประธานในวิหารแต่ก็ได้ทำบุญกระเบื้องหลังคาก็ดีใจแล้วครับ ทางวัดได้นำพระประธานมาประดิษฐานด้านนอกให้ญาติโยมได้มากราบไหว้สักการะบูชาและทำบุญ

วัดที่ เก้า



ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง วัดนี้ปรากฏชื่อครั้งแรกในสมัยพระยอดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๕ 
มีปรากฏชื่อวัดเวฬุวันกู่เต้า


วัดกู่เต้า

                      ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ครั้งพม่ายกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๕
พม่าได้มาตั้งทัพ ณ วัดแห่งนี้เจดีย์ เดิมคงมีรูปแบบคล้ายเจดีย์ปล่อง แต่คงได้มีการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นมีรูปร่าง
คล้ายบาตรพระหรือผลน้ำเต้าซ้อนลดหลั่นขึ้นไป ๕ ชั้น ประดับด้วยเครื่องดินเผาเคลือบประดับกระจกจีนสีเงิน และทอง
สันนิษฐานว่า คงจะบูรณะเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปแบบมัณทเล เป็นพระประธาน
ในวิหารวัดกู่เต้าได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ และได้ประกาศกำหนดขอบเขตวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒



                    ผมและภรรยา เคยมาวัดกู่เต้าเมื่อปี ช่วงสงกรานต์ ปี 2538  เคยมาทำบุญที่นี่ พอมาอีกครั้ง ดูเหมือนสถานที่เปลี่ยนไปหมด ไม่มีภาพที่เคยเห็นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเลย แต่ ดูร่มรื่นกว่าเดิมครับ

และเนื่องจากเวลาที่ยังเหลือเยอะ เลยอยากแวะอีกวัดเป็นวัดสุดท้าย อยากไปวัดลอยเคราะห์ ซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ ไนท์บาซาร์


ปกติจะไม่ค่อยมีที่จอดรถ แต่เผอิญวันนี้มีที่จอดรอไว้พอดี ถือเป็นบุญของผมที่ได้มาวัดแห่งนี้


บริเวณหน้าพระวิหารวัดลอยเคราะห์


ภายในวิหารวัดลอยเคราะห์


                    ใจกลางชุมชนนักท่องเที่ยวต่างชาติเมืองเชียงใหม่  ผู้คนขวักไขว่และคึกคักตลอดเวลา ร้านรวงต่างๆ ผับ และบาร์เปิดบริการแก่นักเดินทางทุกค่ำคืน บรรยากาศที่พลุกพล่านและวุ่นวาย แต่ท่ามกลางความวุ่นวายก็ยังมีความสงบสงัดอยู่บ้าง “วัดลอยเคราะห์” คือพระอารามที่ยืนหยัดคู่กับเมืองเชียงใหม่มาหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยที่ย่านนี้เป็นเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่งเท่านั้น

วัดลอยเคราะห์เป็นวัดอีกแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ที่ผู้คนเดินทางมาทำบุญเพื่อโชคลาภ เพราะมีชื่อที่เป็นมงคล เปรียบเสมือนการลอยทุกข์ลอยโศกให้พ้นตัว ผู้ที่ทุกข์ใจหลายๆ คน  จึงหวังชโลมจิตใจที่หมองหม่น ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง

                 วัดนี้ตั้งอยู่บนถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ อายุมากกว่า 600 ปีแล้ว ถือว่าเก่าแก่มาก เดิมชื่อว่า “วัดร้อยข้อ” (วัดฮ้อยข้อ) สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1910 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ช่วงปลายรัชสมัยพม่ายกทัพมาตีล้านนา และยึดครองล้านนาได้สำเร็จ วัดต่างๆ ในเชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดให้พระเจ้ากาวิละรวบรวม 57 หัวเมืองในดินแดนล้านนาให้เป็นปึกแผ่น เมืองเชียงใหม่จึงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในยุคนั้นด้วย เรียกกันว่าเป็นยุค “เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง” พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนที่ยังคงอยู่ใต้การปกครองของพม่าได้สำเร็จ และกวาดต้อนชาวเชียงแสนมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของคูเมือง“ชาวบ้านฮ่อม” ชาวเชียงแสนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาในสมัยนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้อยข้อขึ้นมาใหม่ และนำชื่อวัดในเมืองเชียงแสนมาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า “วัดลอยเคราะห์” วัดนี้ได้รับการดูแลจากชุมชนเสมอมา ล่าสุดได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2550-2551 ซึ่งเป็นการบูรณะที่ยังคงรักษารูปแบบเดิมที่สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2408

                    หลังจากเสร็จภาระกิจในการไหว้พระ 9 หรือ 10 วัดในภาคเช้าได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้เขียนและครอบครัวได้เดินทางไปพัก ณ อำเภอจอมทอง เพื่อขึ้นไปสัมผัสอากาศบนยอดดอยอินทนนท์ ระหว่างทางแวะร้านอาหารข้างทางครับ


คุณแม่และคุณลูกสั่งคนละอย่าง


ส่วนผม เยนตาโฟ ครับ

                    หลังจากเช็คอินเข้าห้องพักได้แล้ว มีเวลาเหลือ เลยแวะไปดูน้ำตกแม่กลาง ห่างจากที่พักประมาณ 7-8 กิโลเมตรครับ มาดูบรรยากาศครับ


บริเวณลำธาร จะมีร้านอาหารต่างๆ ด้านล่างติดกับลำธารก็มีเสื่อปู โต๊ะเล็กวางอาหารบริการนักท่องเที่ยว


น้ำใส ไหลเย็นดีครับ ถ้าไม่คิดอะไรที่ว่าอยู่ปลายน้ำ



สั่งอาหารเป็น คอหมูย่าง ส้มตำไทย ยำหมูยอ มานั่งทานกันครับ


สองแม่ลูกก็นั่งหย่อนขาเย็นสบาย


เจ้าเขียดน้อยตัวนี้ พลางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก มองเผินๆไม่เห็นนะครับ แล้วก็ไม่ยอมกระโดดหนีด้วย คงคุ้นเคยนักท่องเที่ยว  ก่อนกลับที่พักเลยแวะเข้าไปในตัวอำเภอจอมทอง หาร้าน ปะยาง ซักหน่อย มีความรู้สึกว่ายางนิ่ม(ล้อหน้าขวา) 
ปรากฎว่า โดนตะปู(ตัวเล็กๆ) เลยจัดไป ค่าใช้จ่าย 80 บาท




ปะยางเสร็จก็ไม่ลืมซื้อกับข้าวสำหรับมื้อเย็นครับ แถวๆ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

เห็น สี่ล้อแดง ในตัวเมืองเชียงใหม่จนชินตา มาเห็น สี่ล้อเหลืองบ้าง ก็เลยขอเป็นที่ระทึก


ที่โรงแรมราชพฤษ2007  พักชั้น 4 ระเบียงหน้าห้อง ผมมองเห็นภูเขาสูงๆๆๆ  เช้ามืดพรุ่งนี้ ผมจะไปบนนั้น

เช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์  2558
ขึ้นดอยอินทนนท์  ตื่นตั้งแต่ ตี4 ครึ่ง ล้อหมุน ตี5 วีโก้แชมป์ของผม ทะยานด้วยความแรงแบบเหลือเฟือครับ(ไม่ได้โม้)ถึงยอดยอด 05.40  ใช้เวลาในการเดินทาง 40 นาที บรรยากาศบนยอดสูงสุด อุณหภูมิ 8 องศา


ต้องรีบเข้าไปนั่งในรถ รอให้สว่างกว่านี้ ไม่เช่นนั้น คงเป็นไข้แน่

พอเปิดประตูรถ อากาศหนาวเย็นก็วูบเข้ามา มองเห็นหมอกขาวลอยผ่าน มีความรู้สึกว่าหนาวจนปวดปลายนิ้วมือทันที

ภาพเบลอเนื่องจากเปิดหน้ากล้องมาก จริงๆ แสงไม่ใช่แบบนี้ ยังมืดอยู่


ก็เลยได้ภาพแบบนี้ครับ แต่ก็ทำให้ภาพดูเข้าบรรยากาศดี





ป้ายที่ใครๆ ต้องมาบันทึกไว้ให้ได้


จุดสูงสุดอยู่ที่นี่


บริเวณทางเดินไปที่ทำการ ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก


นักท่องเที่ยววันนี้ มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันหยุด(วันอาทิตย์)


ก่อนกลับบ้าน แวะซื้อสตอเบอรี่บนดอยซักหน่อยครับ  สวัสดีครับ